ยุงลาย วายร้ายภายในบ้าน

ในโลกนี้มียุงมากกว่า 3500ชนิด แต่ยุงที่แพร่ระบาดในประเทศไทย คงจะหนีไม่พ้น ยุงลาย เนื่องจากยุงลายเป็นพาหะนำโรคสำคัญอย่างไข้เลือดออก ที่คร่าชีวิตคนไทยในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงควรมาทำความรู้จักเกี่ยวกับยุงลายให้มากขึ้น ว่า วงจรชีวิตของยุงลายเป็นอย่างไร และเป็นพาหะนำโรคใดได้บ้าง

ยุงลายในประเทศไทยที่เป็นตัวการสำคัญ ในการเป็นพาหะโรคไข้เลือดออก จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1.ยุงลายบ้าน 2.ยุงลายสวน  ยุงลายบ้านมีถิ่นกำเนิดจากทวีปแอฟริกาอาศัยอยู่ใกล้กับบ้านคน โดยมีแหล่งเพาะพันธุ์เป็นแหล่งน้ำที่อยู่บริเวณรอบๆ บ้าน เช่น แอ่งน้ำขังบริเวณบ้าน น้ำในยางรถยนต์เก่า น้ำในแจกัน รวมไปถึงถังขยะที่มีน้ำขัง ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบ้านชั้นดี

ส่วนยุงลายสวนจะมีลักษณะที่คล้ายกับยุงลายบ้านมาก ถิ่นกำเนิดมาจากทวีปเอเชีย ยุงลายสวนแหล่งเพาะพันธุ์จะอยู่ในชนบทเสียส่วนมาก แหล่งเพาะพันธุ์ก็จะเป็นแหล่งน้ำขังสะอาดตามธรรมชาติ และยุงลายสวนสามารถบินเป็นระยะได้ไกลกว่ายุงลายบ้านโดยยุงลายทั้งสองสายพันธุ์นี้เป็นพาหะนำโรคไข้เลือกออกเช่นเดียวกัน

วงจรชีวิตของยุงลายสามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน โดยระยะแรก เป็นระยะไข่ ยุงลายจะวางไข่เหนือผิวน้ำ และความพิเศษของไข่ยุงลายคือ สามารถอยู่ในที่แห้งได้นานนับปี และเมื่อโดนน้ำ หรือน้ำท่วมไข่ก็จะยังสามารถฟักเป็นลูกน้ำได้ ต่อมาคือระยะลูกน้ำ จะมีระยะเวลาเจริญเติบโตอยู่ที่ 7-10วัน โดยจะลอกคราบอยู่ที่ 4 ครั้ง ก่อนที่จะเป็นตัวโม่ง เมื่อถึงระยะเป็นตัวโม่ง จะลอยอยู่ใกล้บริเวณผิวน้ำ ประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงเป็นตัวโตเต็มวัย ยุงลายตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง แต่ตัวเมียจะผสมพันธุ์ได้ครั้งเดียว จากนั้นยุงตัวเมียจะเริ่มออกหากิน

โดยปกติยุงลายตัวเมียจะออกหากินในเวลากลางวัน แต่ยุงลายก็ ออกหากินในเวลากลางคืนได้เช่นกัน เป็นเพราะการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ซึ่งยุงลายไม่เป็นเพียงแค่พาหะนำโรคไข้เลือดออกเท่านั้น แต่ยังเป็นพาะนำโรคร้ายแรงอื่นๆ อย่างเช่น ไข้เดงกี และโรคเท้าช้างอีกด้วย

วิธีการป้องกันยุงลายที่ดี คือการหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้สเปรย์ฉีดยุงที่มีสารสกัดจากดอกไพรีทรัม เพราะสารสกัดจากดอกไพรีทรัม จะส่งผลต่อระบบประสาทของแมลงโดยตรง แต่ไม่มีผลกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง จึงมั่นใจได้ว่า สารสกัดจากดอกไพรีทรัมเป็นมิตรกับคน สัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม

Share:

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข่าวและกิจกรรม

สาระน่ารู้