จริงหรือ? ยุงดูดเลือดจากเหยื่อ แล้วจะไปแพร่ขยายพันธุ์ต่ออย่างรวดเร็ว…
ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,000 ชนิด ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่มากกว่า 420 ชนิด โดยยุงที่เราพบเห็นกันบ่อย ๆคือ คือ ยุงลาย ( Aedes ) ยุงรำคาญ ( Culex ) ยุงก้นปล่อง ( Anopheles ) ยุงเสือหรือยุงลายเสือ ( Mansonia ) และ ยุงยักษ์หรือยุงช้าง ( Toxorhynchites ) โดยจากผลการวิจัยพบว่า ยุงตัวผู้นั้นจะอาศัยการกินน้ำหวานจากดอกไม้ และ ผลไม้เพียงเท่านั้น
ส่วนยุงตัวเมียนี่แหละ คือตัวการที่จ้องจะดูดเลือดมนุษย์ เพื่ออาศัยโปรตีนในเลือดนำไปสร้างไข่ โดยมันจะใช้งวง (proboscis) นั้นเจาะผ่านผิวหนังลงไปยังเส้นเลือดมนุษย์เพื่อดูดเลือดออกไป โดยหลังจากที่ยุงลายเพศเมียดูดเลือดเราไปแล้ว จะบินไปวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่ง จนกลายเป็นลูกน้ำ ตัวโม่ง ที่พร้อมพัฒนาเป็นยุงตัวเต็มวัยต่อไป ซึ่งแต่ละครั้งยุงสามารถวางไข่ได้มากสุดถึง 30 – 300 ฟองต่อครั้งเลยทีเดียว ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่กินเข้าไปอีกด้วย แล้วหลังจากนั้นมันก็พร้อมออกเสาะหาอาหาร ซึ่งก็คือเลือดใหม่ต่อไปเรื่อย ๆและวางไข่ได้อีกเป็นวงจรอย่างนี้ โดยยุงบางชนิดที่มีอายุยืนมาก อาจวางไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง และแต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วันเพียงเท่านั้น
เพราะฉะนั้นแล้ว..ยิ่งยุงตัวเมีย ออกหาเหยื่อเพื่อดูดเลือดได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสของจำนวนประชากรยุงมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากสารอาหารในเลือดมนุษย์จำเป็นต่อการฟักไข่ยุงตัวเมีย เพราะถ้าไม่มีเลือดก็ออกไข่ไม่ได้นั่นเอง ดังนั้นทุกคนจึงควรหันมาป้องกันยุงที่เป็นอันตราย และเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ อย่าง ไข้เลือดออก ไวรัสซิก้านี้ ด้วยการหลีกเลี่ยงและระวังไม่ให้ถูกยุงกัด ไม่ปล่อยให้มียุงชุกชุม หรือน้ำขังบริเวณบ้าน และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ และภาชนะที่มีน้ำขังเป็นประจำทุกสัปดาห์ จากนั้นป้องกันอีกขั้นตอนด้วย คายาริไพรีทรัมสเปรย์ เพื่อควบคุมการเพิ่มประชากรยุง ลดอัตราการเกิดของยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงเท่านี้ทุกคนในครอบครัวจะปลอดภัยจากยุงแล้ว